โภชนาการ

ตักบาตร..ให้ได้บุญ

  • 9 กันยายน 2562

วันมาฆบูชา วันสำคัญที่พุทธศาสนิกชน ชาวไทยจะได้ทำบุญตักบาตรกันอย่างไรเพื่ิอให้ได้สุขภาพและป้องกันโรคของพระสงฆ์

เป็นเมนูที่ประกอบด้วยแป้ง น้ำตาล ไขมัน และกะทิที่ให้พลังงานสูงมากเกินความต้องการร่างกายจะก่อให้สะสมไขมันส่วนเกินส่งผลภาวะ เสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

กระทรวงสาธารณสุข พบว่า มีพระภิกษุและสามเณรร้อยละ 55 เสี่ยงป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดสูง เบาหวาน และร้อยละ 40 ป่วยเป็นโรคดังกล่าวมากกว่า 1 โรค พระภิกษุร้อยละ 5 อยู่ในภาวะอ้วน โรคเหล่านี้มีสาเหตุส่วนหนึ่ง จากการบริโภคอาหาร ไม่ถูกหลักโภชนาการ เนื่องจากเลือกฉันอาหารเองไม่ได้ ต้องฉันอาหารตามที่ฆราวาสตักบาตรหรือนำอาหารมาถวาย ประกอบกับสถานภาพ พระภิกษุสงฆ์ไม่เอื้อต่อการออกกำลังกาย ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรค

ทำบุญครั้งใดต้องเลือกเมนูชูสุขภาพ ตักบาตรด้วยเมนูต่างๆ ดังนี้

  • เมนูที่ให้ใยอาหารสูง

เช่น ข้าวกล้อง ผักต่างๆ เพื่อจะได้มี กากอาหาร ช่วยขับถ่าย

  • เมนูที่ให้แคลเซียมสูง

เช่น นมจืดหรือนมพร่องมันเนย ปลาเล็ก ปลาน้อย ผัดผักที่มีใบเขียวเข้ม เพื่อช่วย เสริมสร้างกระดูกไม่ให้เปราะบาง แตกหรือ หักง่าย

  • เมนูที่ให้ไขมันต่ำ

เช่น เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ปลา เพื่อลดพลังงาน ส่วนเกินสะสมในร่างกายต้นเหตุโรคอ้วน เบาหวาน และความดันโลหิตสูง

อาหารที่ปรุงนั้นต้องมีรสไม่หวาน จัด มันจัด และเค็มจัด เน้นการต้ม นึ่ง อบ หรือ น้ำพริก แต่หากต้องการปรุงอาหาร ประเภทผัด หรือกะทิก็ต้องใช้น้ำมันและ กะทิแต่น้อย อาทิ เมนู ลาบปลา ปลานึ่งผัก แกงส้ม แกงเลียง แกงเหลือง ต้มยำปลา ยำมะม่วง ยำสมุนไพร เป็นต้น และควรมี

ผักสดและผลไม้สดทุกครั้งเพื่อให้ครบ คุณค่าทั้ง 5 หมู่

หลายท่านอาจไม่สะดวกเลือกเมนูชู สุขภาพและหันมาพึ่งเครื่องกระป๋องแทน เช่น อาหาร กระป๋อง ผลไม้กระป๋อง น้ำผล ไม้กระป๋อง หรือเครื่องดื่มหรือผลิตภัณฑ์ บำรุงร่างกาย เพื่อช่วยประหยัดเวลาใน การเตรียมอาหาร ก่อนเลือกซื้อ เครื่องกระป๋อง ทุกครั้งต้องสังเกต ดังนี้

อ่านฉลากข้างกระป๋องให้ละเอียด มีเลขทะเบียนตำรับอาหาร ชื่อ และที่ตั้ง สถานที่ผลิต วัน เดือน ปีที่ผลิต ชื่อปริมาณ วัตถุเจือปน ในอาหาร น้ำหนักสุทธิ

ลักษณะกระป๋องต้องไม่บวม ไม่บุบบู้บี้ ไม่เป็นสนิม เมื่อเปิดกระป๋องต้อง ไม่มีลมดันออกมา รวมถึงตะเข็บกระป๋อง ต้องไม่มีรอยรั่ว เพราะอาจเกิดเชื้อจุลินทรีย์ ขึ้นภายในกระป๋อง

เครื่องกระป๋องที่มีเชื้อจุลินทรีย์ ปนเปื้อน จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้ง ด้านสี กลิ่น รส และคุณค่าของอาหาร

การเก็บเครื่องกระป๋องไว้  เป็นเวลานาน เชื้อจุลินทรีย์ปะปนในเครื่องกระป๋อง Clostidium  Botulinum  จะเจริญเติบโต และสร้าง  สารพิษโบทูลินั่มขึ้น  เป็นพิษต่อ ระบบประสาทรุนแรง  หากได้รับสารพิษ จะแสดงอาการให้เห็นภายใน  2-4  ชั่วโมง

แต่สำหรับบางรายอาจนานถึง 12-36 ชั่วโมง มีอาการคลื่นไส้  อาเจียน  อัมพาตของกล้าม เนื้อต่างๆ สายตาพร่า มองเห็นเป็นภาพซ้อน ซึม  ง่วง  กลืนอาหารไม่สะดวก  ลิ้นและคอ เริ่มอักเสบเพราะกลืนน้ำลายไม่ได้ กล้ามเนื้อ ต้นคออ่อนแรงจนยก  หัวไม่ขึ้น  เสียชีวิต ด้วยระบบ  หายใจล้มเหลวและหัวใจหยุด เต้นฉับพลัน ภายใน 3-6 วัน

การเลือกเมนูชูสุขภาพตักบาตร ไม่เพียงปฏิบัติแต่วันมาฆบูชาเท่านั้น แต่ วันสำคัญทางศาสนาอื่นๆ ก็ควรปฏิบัต เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคและสร้าง สุขอนามัยที่ดีให้พระภิกษุสงฆ์ถือเป็น การตักบาตรได้บุญอย่างแท้จริง

กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

เลขที่ 88/22 ถ.ติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี

Email prnews@anamai.mail.go.th

โทรศัพท์ 0-2590-4053

ติดตามกรมอนามัย

เรามีสาระสุขภาพดีๆ ส่งตรงถึงอีเมลคุณทุกสัปดาห์

Subscription

© DEPARTMENT OF HEALTH : MINISTRY OF PUBLIC HEALTH