โภชนาการ

ไม่ติดหวาน”ลูกหลานสุขภาพดี”

  • 6 กันยายน 2562

เมื่อเอ่ยถึงคำว่า “หวาน” คนส่วนใหญ่มักคิดถึงน้ำตาล น้ำตาลทำไมถึงทำให้ติดได้ ติดแล้วมีผลต่อสุขภาพอย่างไร การกินหวานไม่ผิด…แต่กินอย่างไรให้พอดี มีผลดีต่อสุขภาพ และไม่ติดหวาน

เชื่อหรือไม่!!! ว่าคนเราติดหวานได้ตั้งแต่ในท้องแม่!!

คนเราสัมผัสความหวานได้จากตุ่มรับรสในลิ้นพัฒนาตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์มารดาซึ่งทารกจะได้รับรสหวานจากน้ำคร่ำ ซึ่งมีกลูโคส ฟรุคโตส กรดแลคติค กรดไขมัน และอื่นๆ เป็นส่วนประกอบ นอกจากนี้ อาหารที่มีรสชาติต่างๆ ที่มารดากินขณะตั้งครรภ์ ส่งผ่านทางรก สู่น้ำคร่ำได้ด้วย

การศึกษาในทารกดูดนมแม่และน้ำหวานพบว่าทารกดูดน้ำหวานแรงและยาวนานกว่านมแม่ ทั้งยังเพิ่มความต้องการขึ้นเรื่อยๆ  ทารก ติดหวานเสียแล้ว

น้ำตาลให้พลังงานก็จริง ทำให้รู้สึกสดชื่นเร็ว แต่ปริมาณน้ำตาลในเลือดที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จะกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน จากต่อมในตับอ่อน เพื่อควบคุมน้ำตาลในกระแสเลือดให้อยู่ในระดับปกติ โดยจะนำน้ำตาลไปเก็บในรูปของไกลโคเจน กรดไขมันอิ่มตัว และคอเลสเตอรอล ซึ่งทำให้อ้วน เส้นเลือดอุดตันจากคอเลสเตอรอล ถ้าร่างกายได้รับน้ำตาลมากเป็นประจำ ต่อมในตับอ่อนจะทำงานหนัก จนการผลิตฮอร์โมนอินซูลินผิดปกติ ซึ่งจะทำให้เกิดโรคเบาหวานได้ง่ายตามมาด้วยไตวายและต้อกระจก

นักโภชนาการถือว่าน้ำตาลเป็นสารที่ให้พลังงานชนิดหนึ่ง เรียกว่า พลังงานว่างเปล่า (Empty Energy) หมายถึง ให้พลังงานเพียงอย่างเดียว โดยไม่ได้ให้คุณค่าทางโภชนาการเป็นอาหารที่ปราศจากกากใย ไม่มีวิตามิน แร่ธาตุ และโปรตีน ร่างกายมนุษย์ไม่จำเป็นต้องกินน้ำตาลก็ดำรง อยู่ได้ เพราะร่างกายสามารถรับน้ำตาลจากอาหารอื่นๆ ทั่วไป อาทิ ข้าว แป้ง ผัก และผลไม้ ที่กินกันอยู่ทุกวันซึ่งมีสารประเภทน้ำตาลรวม อยู่ในอาหารนั้นๆ อยู่แล้ว แค่นี้ก็พอเพียงต่อ การบริโภคน้ำตาลในชีวิตประจำวัน

ดังนั้น เพื่อไม่ให้ ติดหวานคุณแม่ ขณะตั้งครรภ์ไม่ควรกินหวาน เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และต่อด้วยนมรสจืด เป็นการตัดไฟแต่ต้นลม เพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย

 

กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

เลขที่ 88/22 ถ.ติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี

Email prnews@anamai.mail.go.th

โทรศัพท์ 0-2590-4053

ติดตามกรมอนามัย

เรามีสาระสุขภาพดีๆ ส่งตรงถึงอีเมลคุณทุกสัปดาห์

Subscription

© DEPARTMENT OF HEALTH : MINISTRY OF PUBLIC HEALTH