Warning: Undefined variable $bg in D:\wwwroot\multimedia\wp-content\themes\anamai_2021_v1_0_1\single.php on line 28
>

การส่งเสริมสุขภาพเพื่อ “พิชิต ออฟฟิศซินโดรม” ในกลุ่มวัยทำงาน

  • 15 กรกฎาคม 2562

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) เป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นกับคนที่ทำงานในออฟฟิศ เนื่องจากลักษณะงานที่ต้องนั่งหน้าคอมพิวเตอร์หรือทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยท่าทางซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นเวลานาน จนอาจส่งผลให้เกิดโรคและอาการผิดปกติในระบบต่างๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ระบบการย่อยอาหารและการดูดซึม ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบฮอร์โมน นัยน์ตาและการมองเห็น โดยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานกายภาพบำบัดจะเป็นอาการที่เกิดขึ้นกับระบบกระดูกและกล้ามเนื้อเป็นส่วนใหญ่

คนที่ทำงานออฟฟิศส่วนมากจะนั่งอยู่ที่โต๊ะทำงาน นั่งเขียนหนังสือ-รายงาน ตรวจสอบเอกสารต่างๆ และใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการทำงานเป็นเวลานานๆ โดยที่ไม่มีการเปลี่ยนอิริยาบถของร่างกาย ไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย และไม่เพียงแต่อิริยาบถของคนทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น นั่งหลังค่อม(งอ) นั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ สภาพโต๊ะทำงานยังเป็นปัจจัยสำคัญด้วย ทั้งโต๊ะทำงานที่ไม่เป็นระเบียบ ไม่สะดวกต่อการหยิบสิ่งของ ระดับความสูงของเก้าอี้  และโต๊ะทำงานสูงหรือต่ำเกินไป เก้าอี้ไม่เหมาะสม ไม่มีพนักพิงที่รองรับหลัง ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นการปฏิบัติงานที่ผิดหลักทางการยศาสตร์ จึงทำให้ส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบตามบริเวณอวัยวะในส่วนต่างๆ ของร่างกายเกิดอาการปวดเมื่อยล้า เช่น ไหล่ ต้นคอ บ่า แขน ข้อมือ เอว หลัง และสายตาเมื่อยล้า ฯลฯ โดยจากผลการสำรวจประชากรในประเทศไทย พบผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่ออาการออฟฟิศซินโดรม ร้อยละ 60 (สำนักงานสื่อสารและตอบโต้ความเสี่ยง, 2558) และพบว่ามีแนวโน้มของการเพิ่มของผู้ป่วยด้วยอาการนี้มากขึ้น 

ตัวอย่างกลุ่มอาชีพที่อาจต้องทำงานกับคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน เช่น

  • พนักงานธุรการ งานในสำนักงานทุกชนิด
  • พนักงานฝ่ายบัญชี ฝ่ายการเงิน ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายทรัพยากรบุคคล
  • พนักงานธนาคาร
  • นักเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ผู้พัฒนาโปรแกรม ผู้พัฒนาเกม ผู้ดูแลเว็บไซต์
  • นักเขียน นักหนังสือพิมพ์
  • นักวิจัย นักสถิติ อาจารย์สอนวิชาคอมพิวเตอร์
  • นักการตลาดอิเล็กทรอนิกส์
  • เจ้าหน้าที่ประจำห้องควบคุมของโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ

26 มิถุนายน 2562

กรอกข้อมูล เพื่อดาวน์โหลด eBook นี้

© DEPARTMENT OF HEALTH : MINISTRY OF PUBLIC HEALTH