แผ่นพับ

แผ่นพับ : การดูแลสุขภาพช่องปากทุกช่วงวัย

  • 17 พฤษภาคม 2562
รายละเอียด
ประเภทไฟล์.pdf
ขนาดไฟล์467.75 KB
ตัวอย่าง
หมายเหตุ: ถ้าหากต้องการดาวน์โหลดไฟล์ต้นฉบับ กรุณากรอกข้อมูลด้านล่างและกดปุ่มดาวน์โหลดไฟล์
รายละเอียด

การดูแลสุขภาพช่องปากแต่ละช่วงวัย

เด็กแรกเกิด 0-6 เดือน : ช่วงอายุนี้ไม่มีฟันขึ้นในช่องปาก ใช้ผ้าสะอาดพันปลายนิ้วมือ และชุบน้ำต้มสุกที่เย็น เช็ดช่องปากเด็กอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ทำความสะอาดบริเวณเหงือก เพดานปาก กระพุ้งแก้มและลิ้น

เด็กอายุ 6 เดือน – 3ปี : ฟันน้ำนมซี่แรกเริ่มขึ้น เมื่อเด็กอายุประมาณ 6 เดือน ควรเริ่มแปรงฟันให้เด็กตั้งแต่ซี่แรกด้วยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ โดยวางปลายขนแปรงบริเวณคอฟัน ให้ตั้งฉากกับตัวฟันของเด็กถูแปรงไปมา เบาๆ สั้นๆ แล้วใช้ผ้านุ่มสะอาดเช็ดยาสีฟันออก

เด็กอายุ 3-6 ปี : เป็นช่วงที่ฟันน้ำนมทยอยขึ้นครบ 20 ซี่ ผู้ปกครองควรให้เด็กฝึกแปรงฟันด้วยตัวเอง และแปรงซ้ำให้เด็กทุกครั้งจนถึงอายุ 7-8 ปี

เด็กอายุ 6-12 ปี : ควรให้เด็กแปรงฟันด้วยตนเองโดยมีผู้ใหญ่ดูแลอย่างใกล้ชิดอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง คือเช้าและก่อนนอน โดยไม่ดื่มนมหรือทานอาหารอีกหลังการแปรงฟัน

วัยรุ่นวัยทำงาน และวัยผู้สูงอายุ

  1. แปรงฟันวันละ 2 ครั้ง ด้วยยาสีฟันที่ผสมฟลูออไรด์เพื่อกำจัดคราบเศษอาหารซึ่งเป็นสาเหตุหลักของฟันผุและเหงือกอักเสบ
  2. ใช้ไหมขัดฟันทุกวันในการขจัดคราบเศษอาหารออกจากซอกฟันและร่องเหงือก เพื่อทำความสะอาดบริเวณที่แปรงฟันไม่สามารถเข้าถึงได้
  3. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีแป้งและน้ำตาล เนื่องจากน้ำตาลเป็นอาหารของแบคทีเรียในช่องปากที่ก่อให้เกิดฟันผุ
  4. ควรพบทันตแพทย์เป็นประจำทุก 6 เดือน เพื่อทำความสะอาดและตรวจสุขภาพเหงือกและฟัน

         สื่อชิ้นนี้สามารถนำไปเผยแพร่ต่อกลุ่มเป้าหมายทุกช่วงวัย ในการดูแลสุขภาพช่องปาก ซึ่ง ภาคีเครือข่ายเขตสุขภาพ, สาธารณสุขจังหวัด, สาธารณสุขอำเภอ, โรงพยาบาลชุมชน, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, โรงเรียนประถมศึกษา และประชาชน ทุกกลุ่มวัย สามารถนำไปเผยแพร่เพื่อยกระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการดูแลสุขภาพช่องปากในทุกช่วงวัย

ศูนย์ทันตสาธารณสุขระหว่างประเทศ

ธันวาคม 2561

กรอกข้อมูล เพื่อดาวน์โหลด

กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

เลขที่ 88/22 ถ.ติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี

Email prnews@anamai.mail.go.th

โทรศัพท์ 0-2590-4053

ติดตามกรมอนามัย

เรามีสาระสุขภาพดีๆ ส่งตรงถึงอีเมลคุณทุกสัปดาห์

Subscription

© DEPARTMENT OF HEALTH : MINISTRY OF PUBLIC HEALTH