คู่มือภาคี

การสร้าความสุข ปรับตัวได้ ใจเป็นสุข สนุกไม่เครียด (บุคลากรสาธารณสุข)

  • 13 กรกฎาคม 2562
รายละเอียด
ประเภทไฟล์.pdf
ขนาดไฟล์12.81 MB
ตัวอย่าง
หมายเหตุ: ถ้าหากต้องการดาวน์โหลดไฟล์ต้นฉบับ กรุณากรอกข้อมูลด้านล่างและกดปุ่มดาวน์โหลดไฟล์
รายละเอียด

ประชากรวัยทำงานคือกำลังสำคัญและกำลังหลักในการขับเคลื่อนการส่งเสริมสุขภาพ รวมถึงสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพไปยังประชากรวัยต่างๆ การส่งเสริมสุขภาพประชากรวัยทำงานจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีองค์ความรู้ที่เหมาะสมและมีมาตรฐาน เพื่อทำให้งานส่งเสริมสุขภาพเป็นไปอย่างครอบคลุม

การจัดทำองค์ความรู้ที่จำเป็นในการส่งเสริมสุขภาพประชากรวัยทำงานสำหรับบุคลากรสาธารณสุขและประชาชน เพื่อให้ประชากรวัยทำงานเกิดความรอบรู้สุขภาพ เข้าถึง เข้าใจ ตัดสินใจ ปรับใช้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และสามารถบอกต่อให้ผู้อื่นมีสุขภาพดีได้ ซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการสำคัญที่จะส่งเสริมให้ประชากรทุกวัยเกิดความรอบรู้ด้านสุขภาพ คือ การมีความรู้ด้านสุขภาพที่ถูกต้อง

  1. ความสุข

สร้างสุขในบ้าน สานรั้วใจวัยทำงาน สถาบันครอบครัว ถือเป็นสถาบันพื้นฐานหลัก ที่มีความสำคัญมากที่สุด เพราะการสรรสร้างสังคมที่ดีได้ ล้วนเริ่มต้นมาจากสถาบันครอบครัว การสร้างกฎหลักในครอบครัว ถือเป็นสัญญาใจหรือข้อตกลงร่วมกันที่จะช่วยให้ชีวิตครอบครัวมีความสุข กฏหลักครอบครัว คือ “รู้หน้าที่ มีน้ำใจ ให้เวลา ร่วมแก้ปัญหาครอบครัว ไม่ลืมตัวทำร้ายกัน จัดสรรการเงิน”หากทำได้ครอบครัวก็จะอบอุ่นและมีความสุขเมื่อคนสองคน ตกลงที่จะใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน นอกจากการสร้างกฎหรือข้อตกลงกันในครอบครัวแล้ว ก็ต้องช่วยกันประคับประคองจิตใจ ให้เป็นรักที่ยั่งยืนมั่นคง ด้วยการดูแลจิตใจของกันและกัน คือ “กฎรักครอบครัว” หรือคาถา 10 ประการเพื่อรักที่ยั่งยืน

  1. ความเครียด
  • ความเครียดเกิดขึ้นได้อย่างไร ความเครียดเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน เมื่อต้องเผชิญกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด หรือไม่ทันตั้งตัว และเป็นเรื่องที่เราคิดว่าไม่สามารถจัดการแก้ไขได้อย่างทันท่วงที เราก็จะเกิดความเครียดขึ้นมา โดยมีอาการตื่นกลัว ตื่นเต้น วิตกกังวล สับสน ใจเต้นแรง เหงื่อออกตามมือ ตามปกติแล้วการที่คนเราจะเครียดมากหรือเครียดน้อยขึ้นอยู่กับว่าเรามองว่าปัญหานั้นเป็นปัญหาที่ใหญ่หรือเล็กน้อยสำหรับเรา
  • จะรู้ได้อย่างไรว่ากำลังมีความเครียด สัญญาณเตือน 3 ด้านที่บ่งบอกว่ากำลังมีความเครียด
    • ด้านร่างกาย: มักเจ็บป่วยบ่อย ๆ โดยไม่ทราบสาเหตุไม่มีเรี่ยวแรง ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ท้องอืดฯลฯ
    • ด้านจิตใจ: เคร่งเครียด ไม่มีสมาธิในการทำงาน หงุดหงิด ฟุ้งซ่าน เหม่อลอย เบื่อหน่ายเศร้าหมอง เป็นต้น
    • ด้านพฤติกรรม: จู้จี้ ขี้บ่น เก็บตัว สูบบุหรี่จัด ดื่มสุรามากขึ้น อาจใช้ยากระตุ้น เช่น ยานอนหลับหรือสารเสพติดต่าง ๆ เป็นต้น

26 มิถุนายน 2562

กรอกข้อมูล เพื่อดาวน์โหลด

© DEPARTMENT OF HEALTH : MINISTRY OF PUBLIC HEALTH