คู่มือภาคี

แนวทางการสร้างสถานที่ทำงานน่าอยู่ น่าทำงาน (บุคลากรสาธารณสุข)

  • 13 กรกฎาคม 2562
รายละเอียด
ประเภทไฟล์.pdf
ขนาดไฟล์10.64 MB
ตัวอย่าง
หมายเหตุ: ถ้าหากต้องการดาวน์โหลดไฟล์ต้นฉบับ กรุณากรอกข้อมูลด้านล่างและกดปุ่มดาวน์โหลดไฟล์
รายละเอียด

ประชากรวัยทำงานคือกำลังสำคัญและกำลังหลักในการขับเคลื่อนการส่งเสริมสุขภาพ รวมถึงสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพไปยังประชากรวัยต่างๆ การส่งเสริมสุขภาพประชากรวัยทำงานจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีองค์ความรู้ที่เหมาะสมและมีมาตรฐาน เพื่อทำให้งานส่งเสริมสุขภาพเป็นไปอย่างครอบคลุม

การจัดทำองค์ความรู้ที่จำเป็นในการส่งเสริมสุขภาพประชากรวัยทำงานสำหรับบุคลากรสาธารณสุขและประชาชน เพื่อให้ประชากรวัยทำงานเกิดความรอบรู้สุขภาพ เข้าถึง เข้าใจ ตัดสินใจ ปรับใช้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และสามารถบอกต่อให้ผู้อื่นมีสุขภาพดีได้ ซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการสำคัญที่จะส่งเสริมให้ประชากรทุกวัยเกิดความรอบรู้ด้านสุขภาพ คือ การมีความรู้ด้านสุขภาพที่ถูกต้อง

สภาพแวดล้อมในการทำงาน หมายถึง ภาวะหรือสภาพต่าง ๆ ที่เป็นอยู่ล้อมรอบตัวของคนทำงานในขณะที่ทำงานหรือประกอบอาชีพในสถานที่ทำงานหนึ่ง ๆ  ซึ่งโดยทั่วไปคนทำงานต้องอยู่ในสถานที่ทำงานอย่างน้อยวันละ 8 – 10 ชั่วโมง และใช้ชีวิต 2 ใน 3 ของอายุในการทำงาน  ซึ่งสถานที่ทำงานก็คือทุกที่ที่มีคนเข้าไปทำงาน ไม่ว่าจะเป็นโรงงานอุตสาหกรรม สถานที่ก่อสร้าง ปั๊มน้ำมัน ร้านเสริมสวย โรงแรม ร้านค้า ร้านอาหาร คลินิก โรงพยาบาล สถานที่ราชการ สำนักงานต่าง ๆ หรือแม้แต่ในกลุ่มแม่บ้าน ซึ่งมีสิ่งคุกคามแตกต่างกันไปตามประเภทของงาน และสามารถส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงานได้ โดยอาจทำให้เกิดได้ตั้งแต่ความผิดปกติเล็กน้อยไปจนถึงป่วยเป็นโรคจากการทำงาน ทั้งนี้อาการต่าง ๆ ของคนทำงานนอกจากจะเกิดจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการมีสุขภาพดีแล้ว สาเหตุอีกอย่างหนึ่งก็คือพฤติกรรมของคนทำงานเอง ดังนั้นการจัดสถานที่ทำงานให้มีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เหมาะสม โดยมีการบริหารจัดการที่ดีทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อม การปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงมีการดำเนินโครงการสร้างเสริมให้พนักงานมีสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจจึงเป็นเรื่องที่ควรให้การสนับสนุนเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งหากสามารถทำให้คนทำงานควบคุมพฤติกรรมตนเอง และมีการจัดการให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ถูกต้องเหมาะสม เอื้อต่อการมีสุขภาพดี โดยเริ่มจากการปฏิบัติที่ถูกต้องภายในสถานประกอบกิจการจะทำให้เกิดการขยายผลต่อไปยังที่บ้าน ชุมชน และสังคมได้อย่างยั่งยืน เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าและประหยัดที่สุด นอกจากนี้ยังทำให้คนทำงานมีความรู้สึกถึงคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วย ผลจากการวิจัยในหลายประเทศพบว่า โครงการสถานที่ทำงานน่าอยู่ น่าทำงาน เสริมสร้างสมดุลชีวิตคนทำงาน จะช่วยลดค่าใช้จ่ายที่สูญเสียไปกับการรักษาพยาบาล ลดจำนวนวันป่วย วันลา ลดอุบัติเหตุ รวมทั้งลดอัตราการเปลี่ยนงานได้ดีด้วย ดังนั้นการจัดสถานที่ทำงานให้เหมาะสม โดยการจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการทำงาน และส่งเสริมสุขภาพของคนทำงานให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ย่อมส่งผลให้บุคลากรมีความสุขในการทำงาน

ความสำเร็จของการดำเนินการให้สถานที่ทำงานเป็นสถานที่ทำงานน่าอยู่ น่าทำงาน เสริมสร้างสมดุลชีวิตคนทำงาน จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความร่วมมือ ร่วมใจ ประกอบกับต้องมีหลักการดำเนินงานที่ชัดเจนครอบคลุมทั้งสุขภาพกายสุขภาพจิต จึงจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อทุกภาคส่วน

26 มิถุนายน 2562

กรอกข้อมูล เพื่อดาวน์โหลด

© DEPARTMENT OF HEALTH : MINISTRY OF PUBLIC HEALTH