คู่มือภาคี

โภชนาการสำหรับทุกช่วงวัย (บุคลากรสาธารณสุข)

  • 13 กรกฎาคม 2562
รายละเอียด
ประเภทไฟล์.pdf
ขนาดไฟล์47.15 MB
ตัวอย่าง
หมายเหตุ: ถ้าหากต้องการดาวน์โหลดไฟล์ต้นฉบับ กรุณากรอกข้อมูลด้านล่างและกดปุ่มดาวน์โหลดไฟล์
รายละเอียด

ประชากรวัยทำงานคือกำลังสำคัญและกำลังหลักในการขับเคลื่อนการส่งเสริมสุขภาพ รวมถึงสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพไปยังประชากรวัยต่างๆ การส่งเสริมสุขภาพประชากรวัยทำงานจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีองค์ความรู้ที่เหมาะสมและมีมาตรฐาน เพื่อทำให้งานส่งเสริมสุขภาพเป็นไปอย่างครอบคลุม

การจัดทำองค์ความรู้ที่จำเป็นในการส่งเสริมสุขภาพประชากรวัยทำงานสำหรับบุคลากรสาธารณสุขและประชาชน เพื่อให้ประชากรวัยทำงานเกิดความรอบรู้สุขภาพ เข้าถึง เข้าใจ ตัดสินใจ ปรับใช้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และสามารถบอกต่อให้ผู้อื่นมีสุขภาพดีได้ ซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการสำคัญที่จะส่งเสริมให้ประชากรทุกวัยเกิดความรอบรู้ด้านสุขภาพ คือ การมีความรู้ด้านสุขภาพที่ถูกต้อง

ความสัมพันธ์ระหว่างโภชนาการกับสุขภาพ 
          “อาหารคือตัวเรา” You are what you eat คำกล่าวนี้เป็นจริงเสมอมา เพราะสิ่งต่างๆที่ประกอบขึ้นเป็นตัวเรานั้น ล้วนมาจากอาหารที่เรากินเข้าไป เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ จนกระทั่งคลอดออกเป็นทารก เด็ก เติบโตเป็นผู้ใหญ่ จนถึงวัยผู้สูงอายุ เราต้องกินอาหารทุกวัน เพราะอาหารไม่เพียงแต่จะนำไปประกอบเป็นส่วนต่างๆของร่างกายเท่านั้น แต่ยังทำให้ชีวิตดำรงอยู่ได้อย่างปกติสุข หรือมีภาวะโภชนาการที่ดี แต่ถ้าหากกินอาหารไม่ถูกต้อง เพียงพอ ก็จะทำให้เกิดปัญหาโภชนาการได้
             ตามคำจำกัดความขององค์กรอนามัยโลกคำว่า “สุขภาพ” หมายถึง สุขภาวะ (Well being) ที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ใจ จิตวิญญาณ สามารถที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข
            “สุขภาพกาย” หมายถึง ความแข็งเเรงของร่างกาย หรือการปราศจากความเจ็บป่วยของอวัยวะทุกส่วนในร่างกาย บุคคลที่มีสุขภาพกายดีคือบุคคลที่ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ และไม่เป็น “พาหะ” ของโรค หรือไม่มีเชื้อโรคซ่อนอยู่ซึ่งจะติดต่อเผยแพร่ไปยังผู้อื่นได้

โภชนาการเป็นรากฐานของสุขภาพ 
โภชนาการที่ดีมีผลต่อสุขภาพดังนี้
           1. ผลทางร่างกาย ได้แก่ขนาดของร่างกาย การมีครรภ์และสุขภาพของทารก ความสามารถในการต้านทานโรค ความมีอายุยืน 
          สรุปได้ว่า โภชนาการที่ดีมีผลต่อสุขภาพกาย คือ
            • ร่างกายเจริญเติบโตเต็มที่
            • มีกำลังแรงงานมากกว่าผู้ที่กินอยู่ไม่ถูกต้อง
            • ร่างกายแข็งแรง มีความต้านทานโรคสูง
            • ไม่แก่ก่อนวัยและอายุยืน
             • มารดาและทารกในครรภ์แข็งแรง
           2. ผลทางอารมณ์และสติปัญญา ผลงานทางวิทยาศาสตร์หลายแห่งเเสดงให้เห็นว่า พัฒนาการทางสมองของมนุษย์นั้นจะเกิดขึ้นเต็มที่ต้องอาศัยภาวะโภชนาการหรืออาหารที่กินด้วย มีผู้รายงานสอดคล้องกันว่าเด็กที่เป็นโรคขาดโปรตีนนั้น เมื่อรักษาด้วยการให้อาหารโปรตีนคุณภาพดีในปริมาณสูง อาการเจ็บป่วยทางกายจะหายไปและกลับสู่สภาพปกติ แต่พัฒนาการทางสมองของเด็กเหล่านั้นไม่อาจแก้ไขให้กลับสู่สภาพเดิมเหมือนเด็กปกติได้ โดยเฉพาะขณะที่สมองกำลังเติบโตรวดเร็วกว่าวัยอื่น นอกจากนี้ยังมีผู้รายงานว่า การขาดกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกายจะทำให้พัฒนาการทางสมองของทารกและเด็กหยุดชะงัก แต่ผลที่เกิดขึ้นนั้นรุนแรงน้อยกว่าการขาดกรดอะมิโนที่จำเป็นแก่ร่างกายหรือโปรตีนคุณภาพสมบูรณ์ 
           3. ประสิทธิภาพในการทำงาน โภชนาการที่ดีมีส่วนให้จิตใจแข็งแรง มีความมั่นคงในอารมณ์ ไม่เหนื่อยหรือท้อแท้ง่าย มีความแจ่มใสและกระตือรือร้นในชีวิต ปรับตนเข้ากับสังคมหรือสิ่งแวดล้อมได้ง่ายและมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ (Maturity) เจริญเร็วกว่าผู้ที่มีภาวะทางโภชนาการไม่ดี และมีผลต่อการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

26 มิถุนายน 2562

กรอกข้อมูล เพื่อดาวน์โหลด

กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

เลขที่ 88/22 ถ.ติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี

Email prnews@anamai.mail.go.th

โทรศัพท์ 0-2590-4053

ติดตามกรมอนามัย

เรามีสาระสุขภาพดีๆ ส่งตรงถึงอีเมลคุณทุกสัปดาห์

Subscription

© DEPARTMENT OF HEALTH : MINISTRY OF PUBLIC HEALTH