คู่มือภาคี

แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

  • 17 พฤษภาคม 2562
รายละเอียด
ประเภทไฟล์.pdf
ขนาดไฟล์1.26 MB
ตัวอย่าง
หมายเหตุ: ถ้าหากต้องการดาวน์โหลดไฟล์ต้นฉบับ กรุณากรอกข้อมูลด้านล่างและกดปุ่มดาวน์โหลดไฟล์
รายละเอียด

การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นเรื่องที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ องค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้การลดอัตราคลอดในวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดของเป้าหมายการพัฒนา
แห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals, MDGs) และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals, SDGs) กำหนดให้การลดอัตราคลอดในวัยรุ่นอายุ 10-14 ปี และอายุ 15-19 ปี เป็นส่วนหนึ่งของตัวชี้วัดในการบรรลุเป้าหมายที่ 3 ว่าด้วยการสร้างหลักประกันให้คนมีชีวิตที่มีคุณภาพและส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของคนทุกเพศทุกวัยที่นานาชาติต้องการบรรลุให้ได้ภายในปี พ.ศ. 2573

สำหรับประเทศไทย พบการคลอดในวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปี เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ข้อมูลจากสถิติสาธารณสุข พบว่า วัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปีคลอดบุตรเพิ่มขึ้นจากประมาณ 95,000 คน ในปี พ.ศ. 2546 เป็นประมาณ 104,300 คน ในปี 2558 ในจำนวนนี้เป็นการคลอดบุตรโดยวัยรุ่นที่มีอายุน้อย คือ อายุต่ำกว่า 15 ปี ประมาณปีละ 3,000 คน ในปี 2559 นอกจากนั้น วัยรุ่นอายุ 10-19 ปี ที่คลอดบุตรซ้ำหรือคลอดเป็นครั้งที่สองขึ้นไปมีมากถึง 28,231 คน หรือเท่ากับร้อยละ 20.0 ของการคลอดในวัยรุ่น อายุ10-19 ปีทั้งหมด ผลกระทบทางสุขภาพจากการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เช่น การเสียชีวิตของมารดา การเสียชีวิตของทารก เด็กแรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ มีความเสี่ยงต่อการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต นอกจากนี้ ยังทำให้เสียโอกาสทางการศึกษา หน้าที่การงานรวมทั้งรายได้ในอนาคต การขาดความพร้อมในการเลี้ยงดูบุตร ส่งผลให้เด็กจำนวนหนึ่งถูกทอดทิ้ง หรือเติบโตมาอย่างไม่มีคุณภาพ ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จึงเข้ามาร่วมกันดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบต่อร่างพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2559 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม 2559 เป็นต้นมา ส่งผลให้เกิดการบูรณาการการทำงานอย่างเป็นรูปธรรมของทุกภาคส่วน และภาคส่วนที่มีความสำคัญและเป็นจุดคานงัดของการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นก็คือ ราชการส่วนท้องถิ่น เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่มีศักยภาพในหลายด้าน ทั้งด้านกำลังคน งบประมาณและมีความใกล้ชิดกับประชาชน กฎหมายฉบับนี้จึงได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่นไว้ในมาตรา ๑๐ ที่ระบุว่า “ให้ราชการส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการให้วัยรุ่นในเขตราชการส่วนท้องถิ่นได้รับสิทธิตามมาตรา 5”

ทั้งนี้ เพื่อเป็นเสริมสร้างความเข้าใจในการขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น จึงได้จัดทำแนวทางฉบับนี้ขึ้น เพื่อให้ข้อมูลสถานการณ์ ความรู้ ตัวอย่างการทำงาน และแนวทางการขับเคลื่อนงาน เพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้เห็นถึงโอกาส ความเป็นไปได้ และตระหนักถึงการป้องกันและแก้ไขปัญหาร่วมกัน เพื่อให้วัยรุ่นเติบโตได้เต็มศักยภาพและเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป

สำนักอนามัยการเจริญพันธ์

กรอกข้อมูล เพื่อดาวน์โหลด

© DEPARTMENT OF HEALTH : MINISTRY OF PUBLIC HEALTH