การตั้งครรภ์ในวัยร่นุ เป็นหนึ่งในประเด็นปัญหาของเยาวชนในวันนี้ ที่ทั้งนานาชาติและประเทศไทยให้ความสำคัญ นับตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา ประเด็นดังกล่าว ได้ถูกกำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการกำหนดนโยบายและมาตรการเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาดังกล่าว แนวนโยบายของหลายหน่วยงานมุ่งเน้นการ “บูรณาการ” กันของทุกภาคส่วน รวมทั้งให้ความสำคัญอย่างมากกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นภาคส่วนที่มีศักยภาพ สูงสุดในการขับเคลื่อนภารกิจต่างๆ เนื่องจากมีความใกล้ชิดกับสถานการณ์ปัญหาและสามารถมีบทบาทในการประสานเพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันไปในทิศทาง ที่จะตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนได้อย่างแท้จริง “ท้องถิ่นเข้มแข็ง เข้าใจวัยรุ่น: แนวทางการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” จัดทำขึ้นเพื่อให้ข้อมูล สถานการณ์ปัญหาและภาพรวมเชิงนโยบายในเรื่องการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของประเทศตลอดจนนโยบาย มาตรการ และโครงการต่างๆ ทั้งที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับปัญหา การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น และที่เปิดกว้างสำหรับการทำงานในด้านดังกล่าว รวมทั้งมีการนำเสนอตัวอย่างการทำงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายแห่ง ที่ทุกแห่งล้วนมีการบูรณาการความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายได้อย่างน่าสนใจ โดยมุ่งหวังให้ผู้อ่านได้เห็นถึงรูปธรรมการทำงาน เพื่อให้เห็นถึงโอกาส ความเป็นไปได้ และเกิดแรงบันดาลใจจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้มีการดำเนินงานในเรื่องดังกล่าวมาก่อนหน้า อีกส่วนของหนังสือที่มีความสำคัญ ได้แก่ บทที่ 3 ซึ่งเป็นการประมวลวิธีการและขั้นตอนการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งมาเรียบเรียงนำเสนอ เพื่อ ให้บุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเห็นถึงแนวทางที่จะการทำงานในเรื่องดังกล่าวอย่างเป็นขั้นตอน ในช่วงท้ายของแต่ละขั้นตอนยังมีการจัดทำแบบทดสอบความพร้อม เพื่อให้บุคลากรได้ตรวจสอบว่าได้มีการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนอย่างครบถ้วนเพื่อพร้อมสำหรับการเดินหน้าในขั้นตอนต่อไปแล้วหรือไม่ ทั้งนี้ เนื้อหาเชิงนโยบายและประสบการณ์จริงในพื้นที่ ล้วนยืนยันถึงศักยภาพและความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการกำหนดคุณภาพชีวิตของ ประชาชนในชุมชน ซึ่งจะเป็นรากฐานสำคัญต่อความมั่นคงของสังคมไทยอย่างแท้จริง สำนักอนามัยการเจริญพันธ์ |