แผ่นพับ

คู่มือ 3 คำถามสุขภาพ และเทคนิคสอนกลับ สู่การมีสุขภาพที่ดี

  • 17 พฤษภาคม 2562
รายละเอียด
ประเภทไฟล์.pdf
ขนาดไฟล์236.78 KB
ตัวอย่าง
หมายเหตุ: ถ้าหากต้องการดาวน์โหลดไฟล์ต้นฉบับ กรุณากรอกข้อมูลด้านล่างและกดปุ่มดาวน์โหลดไฟล์
รายละเอียด

เทคนิค “Ask me 3” หรือ “3 คำถามสุขภาพ สู่การมีสุขภาพที่ดี” เป็นเทคนิคที่ช่วยให้ผู้รับบริการได้รับข้อมูลที่ควรจะรู้หลังจากได้รับบริการแล้ว ผู้ให้บริการควรกระตุ้นให้ผู้รับบริการถาม คำถาม 3 ข้อ เพื่อให้ผู้รับบริการเกิดความรอบรู้ด้านสุขภาพ และตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพตนเองด้วย นำไปปฏิบัติต่อได้อย่างถูกต้อง

การสื่อสารสุขภาพด้วยวิธีการใช้เทคนิค “Ask me 3” หรือ “3 คำถามสุขภาพ สู่การมีสุขภาพที่ดี” เป็นวิธีการกระตุ้นให้ผู้รับบริการถามคำถาม 3 ข้อ ดังนี้

1) ปัญหาสุขภาพของฉันคืออะไร

2) ฉันต้องทำอะไรบ้าง

3) ทำไมฉันถึงต้องทำสิ่งต่างๆเหล่านั้น มันสำคัญอย่างไร  

โดยการสื่อสารทางสุขภาพที่ดีนั้น ต้องตระหนัก และคำนึงถึงความแตกต่าง ด้านปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ เชื้อชาติวัฒนธรรม รวมถึงภาษาของผู้รับบริการ ฯลฯ  ในขณะเดียวกันควรมีการสร้างบรรยากาศการสื่อสารที่เป็นมิตร (Shame free environment) และมีความสบายเป็นกันเองให้กับผู้เข้ารับบริการ เช่น การแสดงท่าทีที่เป็นมิตร การเอาใจใส่ดูแล การให้เกียรติ และเคารพในศักดิ์ศรี ของผู้รับบริการ การแนะนำตนเอง บอกวัตถุประสงค์และ บทบาท รวมถึงท่าทางขณะสื่อสารกับผู้รับบริการ สื่อสารใน บรรยากาศที่สงบเป็นกันเองสบตาและมองหน้าผู้รับบริการใน จังหวะที่เหมาะสม สอบถามหัวข้อที่ต้องการสื่อสารตลอดจน ข้อควรปฏิบัติตามหลักศาสนาและวัฒนธรรม การช่วยเหลือผู้รับบริการในการกรอกแบบฟอร์มต่างๆ ของสถานบริการสุขภาพ ภายหลังการสื่อสาร หน่วยงานควรมีการประเมินประสิทธิภาพของ การสื่อสารด้วยท่าทีที่อ่อนโยน และเป็นมิตร

การกระตุ้นให้ผู้รับบริการได้ถามคำถาม 3 ข้อ คือ 1) ปัญหาสุขภาพของฉันคืออะไร 2) ฉันต้องทำอะไรบ้าง 3) ทำไมฉันถึงต้องทำสิ่งต่างๆเหล่านั้น มันสำคัญอย่างไร เป็นการช่วยให้ผู้รับบริการได้รับรู้ข้อมูลสุขภาพของตนเอง และสามารถนำวิธี/แนวทางการดูแลสุขภาพของตนเองไปปฏิบัติต่อได้อย่างถูกต้อง

การสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจด้านสุขภาพให้กับผู้รับบริการด้วย เทคนิคสอนกลับ (Teach back) เป็นวิธีการที่ให้แพทย์ พยาบาล เภสัชกร หรือผู้ที่ให้บริการทางสุขภาพได้อธิบายข้อมูลสุขภาพอย่างชัดเจน เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง และขอให้ผู้รับบริการอธิบายข้อมูลสุขภาพหรือสิ่งที่ตนเองต้องรู้เพื่อนำไปปฏิบัติ ด้วยคำพูดของตนเองตามที่เข้าใจ ซึ่งเป็นการตรวจสอบความเข้าใจของผู้รับบริการหลังจากได้รับข้อมูลจากแพทย์ พยาบาล เภสัชกร หรือผู้ที่ให้บริการทางสุขภาพ  

การใช้เทคนิคสอนกลับ (Teach back) ให้เกิดประสิทธิภาพผู้ให้บริการควรปฏิบัติตามองค์ประกอบในการใช้เทคนิคสอนกลับ (TEACH- BACK) 10 องค์ประกอบ ดังต่อไปนี้

  1. ใช้เสียงที่นุ่มนวลและเอาใจใส่
  2. แสดงภาษากายที่สบายผ่อนคลาย
  3. ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย
  4. ขอให้ผู้รับการรักษาอธิบายกลับโดยใช้ภาษาพูดของตนเอง
  5. ใช้คำถามปลายเปิด
  6. หลีกเลี่ยงการตั้งคำถามที่สามารถตอบได้ง่ายๆ เช่น ใช่หรือไม่
  7. ใช้กระดาษที่เป็นมิตรต่อสายตา เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้
  8. แพทย์ พยาบาล และผู้ให้บริการด้านสุขภาพต้องมีความรับผิดชอบในการอธิบายอย่างถูกต้อง ชัดเจน
  9. ถ้าผู้รับการรักษาไม่สามารถอธิบายกลับได้อย่างถูกต้อง ควรให้แพทย์ พยาบาลอธิบายซ้ำอีกครั้งแลตรวจสอบทบทวนความเข้าใจ
  10. ใช้สื่อเอกสารประกอบการสอนกลับเพื่อกระตุ้น ความสนใจของผู้รับการรักษา

การให้ผู้รับบริการได้พูดทบทวนข้อมูลด้านสุขภาพที่ได้รับด้วยคำพูดของตนเองจนกระทั่ง
ผู้ให้บริการแน่ใจว่าผู้รับบริการเข้าใจข้อมูลนั้นเป็นอย่างดี จะทำให้มั่นใจได้ว่าผู้รับบริการสามารถนำข้อมูลที่ได้รับไปปฏิบัติ

สำนักงานโครงการขับเคลื่อนกรมอนามัย 4.0 เพื่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนได้อย่างถูกต้อง

28 ธันวาคม 2561

ที่มา :

  1. www.AskMe3.org
  2. http://www.teachbacktraining.org/using-the-teach-back-toolkit
  3. Can Teach –Back Reduce Hospital Admissions; Melanie Haney, BSN,RN,PCCN, and Jessica Shepard,BSN,RN. American Nurse Today. Volume 9, Number 3 pp
  4. The Relationship Between Hospital Patients’ Ratings of Quality of Care and Communication. Anita Keller et al. Internal Journal for Quality Care 2014; Volume 26,Number 1:pp
  5. A National Survey of Health Industry Influencers and Change Agents, KRC Research and Consulting, April 2002

กรอกข้อมูล เพื่อดาวน์โหลด

กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

เลขที่ 88/22 ถ.ติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี

Email prnews@anamai.mail.go.th

โทรศัพท์ 0-2590-4053

ติดตามกรมอนามัย

เรามีสาระสุขภาพดีๆ ส่งตรงถึงอีเมลคุณทุกสัปดาห์

Subscription

© DEPARTMENT OF HEALTH : MINISTRY OF PUBLIC HEALTH