ลดเค็ม ลด NCDs
ชอบเติมเค็ม = ยิ่งเพิ่มโรค
การกินเค็ม หรือ ใส่เครื่องปรุงรสในอาหารมากเกินไป เสี่ยงทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น โรคความดัน โลหิตสูง โรคไตเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด
เค็มน้อย อร่อยได้
– กินอาหารจืด
– ฝึกนิสัย “ชิมก่อนปรุง”และ”ไม่ควรปรุงรสเค็ม”
– ไม่แช่อาหารในน้ำจิ้ม
– เลี่ยงของหมักดอง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปขนมขบเคี้ยว
– การใช้สมุนไพรในอาหาร เช่น กระเทียมพริกไทย ช่วยเพิ่มกลิ่นรสในอาหารทำให้สามารถลดการปรุงเค็มได้โดยที่อาหารยังมีรสชาติที่ดีอยู่
ตัวอย่างอาหารที่มีโซเดียมสูง
กุ้งแห้ง 1 ช้อนกินข้าว เท่ากับเกลือ 1/2 ช้อนชา หรือโซเดียม 880 กรัม
น้ำปลา 1 ช้อนกินข้าว เท่ากับเกลือ 3/4 ช้อนชา หรือโซเดียม 1,300 กรัม
กะปี 1 ช้อนชา เท่ากับเกลือ 1/2 ช้อนชา หรือโซเดียม 880 กรัม
ซอสหอยนางรม 1 ช้อนกินข้าว เท่ากับเกลือ 1/4 ช้อนชา หรือโซเดียม 518 กรัม
ซีอิ๊ว 1 ช้อนกินข้าว เท่ากับเกลือ 1/2 ช้อนชา หรือโซเดียม 880 กรัม
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 1 ห่อ เท่ากับเกลือ 3/4 ช้อนชา หรือโซเดียม 1,500 กรัม
เต้าเจี้ยว 1 ช้อนกินข้าว เท่ากับเกลือ 1 ช้อนชา หรือโซเดียม 1,995 กรัม
กินเค็มแค่ไหน? ใน 1 วัน
เกลือ 1 ซ้อนชา มีโซเดียม 2,000 มิลลิกรัม
ปริมาณ เกลือ ไม่ควรกินเกิน 1 ช้อนชา ต่อวัน หรือ
ปริมาณ น้ำปลา ไม่ควรกินเกิน 4 ช้อนชา ต่อวัน
📍 ด้วยรักและห่วงใย อยากให้คนไทยสุขภาพดี จาก กรมอนามัย 💖
📌 อย่าลืมกดติดตาม Facebook กรมอนามัย เพื่อติดตามซีรีย์สาระสุขภาพจากเรานะคะ
#สาระสุขภาพ #แม่และเด็ก #วัยเรียนวัยรุ่น #วัยทำงาน #ผู้สูงอายุ #โภชนาการ #NCDs