การทำส้วมชั่วคราวหรือส้วมเฉพาะกิจทางเลือกช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม

  • 17 กันยายน 2567

การทำส้วมชั่วคราวหรือส้วมเฉพาะกิจทางเลือกช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม

3 ทางเลือกในการทำ “ส้วมชั่วคราว” หรือ “ส้วมเฉพาะกิจ” ประหยัดงบ ต้นทุนน้อย ช่วยแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ถูกสุขอนามัย สำหรับผู้ประสบภัยน้ำท่วม
แบบที่ 1 ส้วมเก้าอี้พลาสติก
อุปกรณ์ที่ต้องใช้
     1. เก้าอี้พลาสติก
     2. มีด คัตเตอร์ หรือเลื่อยสำหรับเจาะพื้นรองนั่งเก้าอี้ และกรรไกรสำหรับตัดกระดาษแข็ง
     3. ถุงดำ หรือถุงพลาสติกขนาดใหญ่
ขั้นตอนการทำ
    ตัดกระดาษแข็งให้เป็นรูปที่นั่ง มีช่องวงรีตรงกลางหลังเจาะเป็นช่องตรงกลาง กว้างประมาณ12-15ซม.ยาวประมาณ 25 ชม. แล้วให้นำถุงพลาสติกสติกสวมลงไปในช่องวงรี โดยเปิดปากถุงคลุมเก้าอี้เอาไว้เวลาใช้
ก็เพียงนั่งลงบนเก้าอี้แล้วถ่ายทุกข์”รูปแบบนี้เหมาะกับผู้สูงวัย ผู้มีน้ำหนักตัวมากหรือผู้ที่มีปัญหาเข่า เวลาใช้เสร็จก็มัดถุงให้เรียบร้อยนำไปทิ้งอย่างเหมาะสม

แบบที่ 2 ส้วมถังพลาสติกหรือกระโถน
อุปกรณ์ที่ต้องใช้
    1. ถังพลาสติก หรือกระโถน แบบมีฝ่าปิด
    2. ถุงพลาสติกขนาดใหญ่ หรือถุงดำ
ขั้นตอนการทำ
    นำถังพลาสติกหรือกระโถนเปิดฝาออกแล้วจึงนำถุงพลาสติกใส่ลงในถังหรือกระโถนคลี่ปากถุงครอบบน ปากถัง หรือกระโถน*รูปแบบนี้ควรเลือกถังพลาสติกเนื้อหนารองรับน้ำหนักได้ ก่อนจะนั่งลงควรคะเน
น้ำหนักตัวเองให้ดีว่าถังพลาสติกสามารถรองรับได้หรือไม่

แบบที่ 3 ส้วมกล่องกระดาษ
อุปกรณ์ที่ต้องใช้
    1. กล่องกระดาษ เอ4 แบบมีฝาปิด
    2. มีดคัตเตอร์ หรือกรรไกร สำหรับเจาะกล่องกระดาษ
    3. เทปกาว
    4. ถุงพลาสติกขนาดใหญ่ หรือถุงดำ
ขั้นตอนการทำ
    ใช้กล่องกระดาษ เอ 4 พร้อมฝาปิด มาเจาะช่องที่ฝากล่อง กว้างประมาณ 12 – 15 ซม. ยาวประมาณ 25 ซม. จากนั้นคว่ำปากกล่องกระดาษลง นำฝากล่องที่เจาะเป็นช่องแล้ว ครอบปิดลงบนกันกล่องกระดาษแล้วเจาะก้นกล่องกระดาษเป็นช่องให้ตรงกันกับฝากล่องนำเทปกาวติดฝากับตัวกล่องกระดาษให้แน่นใช้ถุงดำใส่ลงในกล่อง คลี่ปากฤงครอบบบปากกล่องเป็นอันเสร็จเรียบร้อย

เมื่อใช้ส้วมเรียบร้อยแล้ว หลังขับถ่ายลงในถุงดำทุกครั้งให้ใช้ปูนขาวหรือขี้เก้า 2 ช้อนโต๊ะใส่ในถุงอุจจาระเพื่อทำลายเชื้อโรค จากนั้นมัดปากถุงให้แน่น แล้วรวบรวมส่งให้หน่วยงานในพื้นที่เกี่ยวข้องน่าไปทำไปกำจัดอย่างถูกวิธีต่อไป

📍 ด้วยรักและห่วงใย อยากให้คนไทยสุขภาพดี จาก กรมอนามัย 💖
📌 อย่าลืมกดติดตาม Facebook กรมอนามัย เพื่อติดตามซีรีย์สาระสุขภาพจากเรานะคะ

#สาระสุขภาพ #อนามัยสิ่งแวดล้อม #น้ำท่วม

© DEPARTMENT OF HEALTH : MINISTRY OF PUBLIC HEALTH