การกำจัดในบ้าน เชื้อรา

  • 16 กันยายน 2567

การกำจัดในบ้าน เชื้อรา

 

ในฤดูฝนหรือเมื่อเกิดน้ำท่วม  มักพบพื้นผิววัสดุต่างๆ เกิดเชื้อราขึ้นเสมอ เช่น ผนัง ฝ้า เพดาน พื้นไม้ใต้พรม ตู้เสื้อผ้า เตียง หมอน เฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ วิธีการทำความสะอาดบ้าน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อรานั้น ทำได้ดังนี้

  1. เปิดประตู หน้าต่าง เพื่อระบายอากาศภายในบ้าน โดยไม่เปิดพัดลมหรือเครื่องปรับอากาศเพราะจะทำให้สปอร์ราฟุ้งกระจาย
  2. ก่อนทำความสะอาดควรสวมอุปกรณ์ป้องกัน อันตรายส่วนบคคล ได้แก่ หน้ากากอนามัยชนิด N95แว่นครอบตา ถุงมือยางและรองเท้ายาง
  3. วัสดุที่เคลื่อนที่ได้ ควรนำออกไปทำความสะอาดนอกอาคาร
  4. วัสดุที่ยากแก่การทำความสะอาด มีเชื้อรามาก เช่น ที่นอน หมอน ให้คัดแยกวัสดุนั้นทิ้งไป โดยห่อด้วยพลาสติกกันการฟุ้งกระจายของสปอร์รา
  5. การเช็ดครั้งที่ 1 กรณีพื้นผิววัสดุที่ขึ้นรา มีสภาพแห้ง และรามีลักษณะฟูะฟู เห็นเส้นใยชัดเจน ห้านใช้ผ้าแห้งเช็ด ใช้กระคาษทิชชู่แผ่นหมาและขนาดใหญ่ หรือกระดาษหนังสือพิมพ์ ชุบน้ำพอหมาดๆ เช็ดพื้นผิว โดยเช็ดไปทางเดียวกันเท่านั้น ห้ามเช็ดย้อนไปมาเช็ดแล้วทิ้งในถุงขยะขนาดใหญ่โดยขยับปากถุงเปิด-ปิดเบาๆ เมื่อเต็มแล้วให้มัดปิดปากถุงให้แน่น
  6. การเช็ดครั้งที่ 2 การเช็ดครั้งที่ 3 ชุบน้ำผสมสบู่ หรือน้ำยาล้างจาน หรือผงซักฟอก อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วเช็ดซ้ำแบบเดิม
  7. ชุบน้ำยาฆ่าเชื้อรา เช็ดซ้ำอีกครั้ง
  8. นำวัสดุที่ทำความสะอาดแล้วไปตากแดดให้แห้งสนิทก่อนใช้ และเป็นการฆ่าเชื้อราได้อีกทางหนึ่งด้วย
  9. ระวังการเกิดราใหม่เสมอ ทำซ้ำหากผลยังไม่เป็นที่พอใจและต้องลดกิจกรรมที่จะทำให้มีความชื้นอยู่ในอากาศนานๆเช่น การตากผ้าในบ้าน การต้มน้ำภายในบ้าน เป็นต้น

น้ำยาที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อราได้มีหลายชนิด ควรใช้ให้ถูกชนิดกับวัสดุ ได้แก่

  1. น้ำยาที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อราแบบอ่อน เช่น น้ำสัมสายชู สูตรกลั่นหรือหน้าก็ได้ (ควรมีความเข้มข้นอย่างน้อย 7%)
  2. น้ำยาที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อราแบบเข้มข้น เช่น
    2.1  แอลกอฮอล์ (ethanol, isopropanol) ใช้ที่ความเข้มขัน 60 – 90% ควรให้ระยะสัมผัส อย่างน้อย 5-10 นาที
    2.2  sodium hypochlorites ใช้ผสมน้ำที่อัตราส่วน 1:10 สารนี้เป็นสารประกอบคลอรีน มีฤทธิ์ในการทำลายเชื้ออย่างกว้างขวางสามารถทำลายสปอร์ของเชื้อราได้ มีราคาถูก และออกฤทธิ์อย่างรวดเร็ว

 

📍 ด้วยรักและห่วงใย อยากให้คนไทยสุขภาพดี จาก กรมอนามัย 💖
📌 อย่าลืมกดติดตาม Facebook กรมอนามัย เพื่อติดตามซีรีย์สาระสุขภาพจากเรานะคะ

#สาระสุขภาพ #อนามัยสิ่งแวดล้อม #น้ำท่วม

 

© DEPARTMENT OF HEALTH : MINISTRY OF PUBLIC HEALTH