เตรียมพร้อมด้านสุขภาพ และอนามัยสิ่งแวดล้อม รองรับภัยแล้ง

  • 15 พฤษภาคม 2567

💪 เตรียมพร้อมด้านสุขภาพ และอนามัยสิ่งแวดล้อม “รองรับภัยแล้ง”❗


🔶 แนวปฏิบัติสำหรับเจ้าหน้าที่ : ❝ด้านส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม❞


🔸 1. ติดตามสถานการณ์การเกิดภัยแล้ง เพื่อเฝ้าระวังและเตรียมความพร้อมในพื้นที่
🔸 2. เตรียมความพร้อมของสถานบริการการสาธารณสุข สำรวจและจัดทำแผนเผชิญเหตุ กรณีขาดแคลนน้ำสำหรับใช้ในหน่วยงาน เพื่อให้ประชาชนได้รับน้ำสะอาดอย่างเพียงพอ
🔸 3. จัดเตรียมและสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ในช่วงภัยแล้ง ให้แก่ประชาชน เช่น คลอรีนน้ำ สารส้ม หยดทิพย์ เป็นต้น
🔸 4. สื่อสาร เตือนภัยสถาณการณ์ภัยแล้ง ให้กับประชาชนทราบ เพื่อเตรียมสำรองน้ำสะอาดใช้ในชุมชนและครัวเรือน
🔸 5. การเตรียมการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในช่วงเกิดภัยแล้ง เช่น การจัดการด้านสุขาภิบาลอาหารและน้ำ การดูแลความสะอาดตลาด ร้านอาหาร การเฝ้าระวังคุณภาพน้ำบริโภค เป็นต้น
◾ ◾ ◾


🔷 แนวปฏิบัติสำหรับ ❝ประชาชน❞


🔹 1. ติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์ภัยแล้ง และปฏิบัติตามคำแนะนำจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
🔹 2. เฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง หรือกลุ่มเปราะบางในบ้าน เช่น เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจากการบริโภคน้ำไม่สะอาด
🔹 3. กินอาหารปรุงสุกใหม่ และปรับปรุงคุณภาพน้ำในครัวเรือนก่อนนำมาดื่ม เช่น ต้ม กรอง เป็นต้น
🔹 4. สำรองน้ำในครัวเรือน ทำความสะอาดที่กักเก็บน้ำ และทำความสะอาดตัวกรองน้ำ
🔹 5. วางแผนการใช้น้ำอย่างประหยัด ไม่เปิดน้ำทิ้งขณะที่ไม่ใช้ ใช้น้ำจากฝักบัวแทนการตัดอาบ และนำน้ำจากการอาบน้ำ ซักผ้า ล้างจาน มาใช้รดน้ำต้นไม้
🔹 6. เน้นปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย เช่น พืชตระกูลถั่ว ข้าวโพด มันสำปะหลัง เป็นต้น
🔹 7. งดจุดไฟ เผาหญ้า หรือสูบบุหรี่ ในพื้นที่ที่มีเศษวัสดุ เชื้อเพลิง หญ้าแห้ง เพื่อป้องกันการเกิดไฟไหม้

ข้อมูลโดย : กองอนามัยฉุกเฉิน กรมอนามัย

📌 อย่าลืมกดติดตาม Facebook กรมอนามัย เพื่อติดตามซีรีย์สาระสุขภาพจากเรานะคะ

 

#สาระสุขภาพ #แม่และเด็ก #วัยเรียนวัยรุ่น #วัยทำงาน #ผู้สูงอายุ #โภชนาการ #อนามัยสิ่งแวดล้อม

© DEPARTMENT OF HEALTH : MINISTRY OF PUBLIC HEALTH