6 ความเชื่อที่ผิดเกี่ยวกับการดื่มนมวัว

  • 13 มิถุนายน 2566

6 ความเชื่อที่ผิดเกี่ยวกับการดื่มนมวัว       

อาการท้องอืด และท้องเสียจากการดื่มนม เกิดจากการแพ้นม

ความจริง

      อาการท้องอืดและท้องเสียจากการดื่มนมมิใช่การแพ้ (allergy) แต่เกิดจากร่างกายหยุดสร้างเอ็มไซม์แล็กเทส ทำให้ไม่สามารถย่อยน้ำตาลแล็กโทสในน้ำนมได้ ส่งผลให้มีอาการ ท้องอืด ท้องเสีย ดังนั้นควรดื่มนมครั้งละ 1 แก้ว ในเวลา 1-2 สัปดาห์ หรือดื่มหลังอาหาร ไม่ดื่มนมตอนท้องว่างหรือเลือกดื่มผลิตภัณฑ์นมปราศจากน้ำตาลแล็กโทส (Lactose free milk)

 

นมผงมีคุณภาพสู้น้ำนมโคสดไม่ได้

ความจริง

     นมผงมีคุณค่าโภชนาการด้อยกว่าน้ำนมสดเพียงเล็กน้อย จากการที่โปรตีนและวิตามินบางส่วนในน้ำนมสดสลายตัวไปกับความร้อน ซึ่งในทางโภชนาการนับว่าไม่รุนแรง ดพราะสารอาหารหลักที่คาดหวังจากการดื่มน้ำนมยังคงอยู่ และที่สุญเสียไปก็สามารถทดแทนด้วยการเสริมลงไปได้

 

ดื่มนมข้าว นมถั่ว นมนัท ทดแทนนมโคได้

ความจริง

     คุณภาพของโปรตีนในข้าวและถั่วซึ่งเป็นโปรตีนจากพืช มีคุณภาพด้อยกว่าโปรตีนในน้ำนมซึ่งเป็นโปรตีนจากสัตว์ ดังนั้นผลิตภัณฑ์นมข้าว นมถั่ว และนมนัทที่อาจผลิตขึ้นมาให้มีปริมาณโปรตีนเท่าน้ำนมโค จะให้ประโยชน์ต่อร่างกายที่ด้อยกว่า เนื่องจากมีกรดอะมิโนจำเป็นไม่ครบถ้วน

 

การดื่มนมเป็นประจำทำให้ดื้อยาปฏิชีวนะจากยาปฏิชีวนะที่ปนเปื้อนในน้ำนมโค

ความจริง

     เมื่อระมาณ 10 ปีที่แล้ว อาจเป็นความจริง เพราะเกษตรกรบางราย ใช้ยาปฏิชีวนะผสมกับอาหารแม่โคเพื่อป้องกันโรคเต้านมอักเสบ (mastitie) แต่ปัจจุบันการเลี้ยงดูแบบปล่อยทุ่ง ดูแลด้านโภชนาการและสุขภาพของแม่โคตามแนวทางนมพรีเมียมของ อย. และเฝ้าระวังคุณภาพน้ำนมดิบและผลิตภัณฑ์ ทำให้ปัญหาดังกล่าวไม่เกิดขึ้นแล้ว

 

#โภชนาการ

กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

เลขที่ 88/22 ถ.ติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี

Email prnews@anamai.mail.go.th

โทรศัพท์ 0-2590-4053

ติดตามกรมอนามัย

เรามีสาระสุขภาพดีๆ ส่งตรงถึงอีเมลคุณทุกสัปดาห์

Subscription

© DEPARTMENT OF HEALTH : MINISTRY OF PUBLIC HEALTH