โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

  • 15 กรกฎาคม 2562

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable disease, NCDs)

โรคไม่ติดต่อ หรือเรียกย่อว่า NCD (Non-communicable disease, NCD) คือ โรคที่ไม่ใช่โรคติดเชื้อ ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคจึงติดต่อไม่ได้ด้วยการสัมผัสคลุกคลีหรือติดต่อผ่านตัวนำโรค (Vector) หรือผ่านทางสารคัดหลั่งต่างๆ  ซึ่งโรคไม่ติดต่อมีปัจจัยเสี่ยงมาจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่าง เช่น การดื่มสุรา การสูบบุหรี่ รับประทานอาหารหวาน มัน เค็ม และขาดการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา ได้แก่ ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง น้ำตาลในเลือดสูง ภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน ซึ่งทำให้เป็นโรคไม่ติดต่อในที่สุด โดยกลุ่มโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจขาดเลือด  และโรคหลอดเลือดสมอง โรคเรื้อรัง จะค่อยๆ มีอาการและอาการรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ทีละน้อยเมื่อไม่ได้รับการดูแลรักษา

ปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพที่สำคัญร่วมกันมีสองกลุ่มคือ กลุ่มปัจจัยเสี่ยงด้านพฤติกรรม 4 ปัจจัยและกลุ่มปัจจัยด้านสรีรวิทยา 4 ปัจจัย

กลุ่มปัจจัยเสี่ยงด้านพฤติกรรม 4 ปัจจัย ได้แก่

  1. การบริโภคยาสูบ
  2. การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  3. การบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม
  4. การมีกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอ

กลุ่มปัจจัยด้านสรีรวิทยา 4 ปัจจัย ได้แก่

  1. ภาวะไขมันในเลือดสูง
  2. ภาวะความดันโลหิตสูง
  3. ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
  4. ภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน 

กรอกข้อมูล เพื่อดาวน์โหลด eBook นี้

กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

เลขที่ 88/22 ถ.ติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี

Email prnews@anamai.mail.go.th

โทรศัพท์ 0-2590-4053

ติดตามกรมอนามัย

เรามีสาระสุขภาพดีๆ ส่งตรงถึงอีเมลคุณทุกสัปดาห์

Subscription

© DEPARTMENT OF HEALTH : MINISTRY OF PUBLIC HEALTH