ปรับนิด ชีวิตดี๊…ดี

  • 2 พฤศจิกายน 2563
หนังสือ ปรับนิด ชีวิตดี๊...ดี

จากสถานการณ์ปัญหาสุขภาพของคนวัยทำงานในปัจจุบัน พบว่า ประชากรวัยทำงานมีอัตราการป่วยเป็นโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม เช่น มีภาวะน้ำหนักเกิน โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน
โรคไขมันในเลือดสูง เป็นต้น ซึ่งทำให้เกิดการเจ็บป่วยทั้งด้านร่างกาย และจิตใจ ต่อตัวบุคคลนั้น และยังส่งผลกระทบต่อบุคคลรอบข้าง รวมถึงสถานประกอบกิจการที่พนักงานเหล่นี้ปฏิบัติงานอยู่ด้วย ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการช่วยลดหรือป้องกันการเกิดอุบัติการณ์ของโรดเหล่านี้คือ การมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง เหมาะสม จากการมีความรู้ความเข้าใจ และมีทักษะสุขภาพที่เหมาะกับช่วงวัยและบริบทของสถานประกอบกิจการ

กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมอนามัยและหน่วยงานเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพประชากรวัยทำงานในสถานประกอบกิจการให้มีประสิทธิภาพสูงสุด จึงได้จัดทำ คู่มือชุดความรู้สุขภาพ 10 เรื่อง (10 Packages) เพื่อส่งเสริมให้ประชากรวัยทำงานในสถานประกอบกิจการมีความรู้ มีความตระหนักถึงการป้องกันความเสี่ยงด้านสุขภาพ สามารถประเมินตนเอง และนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการดูแลสุขภาพตนเองรวมถึงสามารถให้ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมสุขภาพแก่สถานประกอบกิจการ โดยคู่มือเล่มนี้เหมาะกับประชากรกลุ่มวัยทำงานในสถานประกอบกิจการได้ใช้ศึกษา ฝึกปฏิบัติ ทบทวนพฤติกรรมตนเอง เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองไปในทางที่เหมาะสมต่อสุขภาพ เนื่องจากมีความง่ายต่อการเข้าใจ อีกทั้งยังเหมาะสำหรับนักพัฒนาสุขภาพได้ใช้ศึกษาและกำหนดแนวทางการส่งเสริมสุขภาพในสถานประกอบกิจการให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้ประชากรวัยทำงานในสถานประกอบกิจการมีสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจ ปฏิบัติงานในสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยดีมีความสุขในการปฏิบัติงาน และมีความรอบรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองและบุคคลรอบข้าง รวมทั้งสามารถลดพฤติกรรมทางสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ต่อการเกิดโรค NCD และโรคจากการประกอบอาชีพได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

กรอกข้อมูล เพื่อดาวน์โหลด eBook นี้

กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

เลขที่ 88/22 ถ.ติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี

Email prnews@anamai.mail.go.th

โทรศัพท์ 0-2590-4053

ติดตามกรมอนามัย

เรามีสาระสุขภาพดีๆ ส่งตรงถึงอีเมลคุณทุกสัปดาห์

Subscription

© DEPARTMENT OF HEALTH : MINISTRY OF PUBLIC HEALTH