กรมอนามัย มีคำแนะนำสำหรับการรับมือ ❝กรณีเกิดการระบาดของโรคติดต่อ❞
เช่น โรคโควิด-19 / โรคไข้หวัดใหญ่ / โรคไข้เลือดออก / โรคมือเท้าปาก / โรคที่มีอาหาและน้ำเป็นสื่อ ในสถานศึกษา มาฝากกันค่ะ
สำหรับการดูแลของ นักเรียน บุคลากร และผู้ปกครอง (ดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล) มีดังนี้
1. ควรดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลอย่างสม่ำเสมอ
เช่น ล้างมือด้วยสบู่และน้ำบ่อย ๆ ก่อนรับประทานอาหาร หลังใช้ส้วมหลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า ตา ปาก จมูก โดยไม่จำเป็น เลือกรับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ ใช้อุปกรณ์ส่วนตัว เช่น แก้วน้ำ ช้อน ส้อม
2. ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง
โดยการรับประทานอาหารครบ 5 หมู่ / ผัก ผลไม้ 5 สี เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ออกกำลังกายอย่างน้อย 60 นาที ต่อ วัน และนอนหลับให้เพียงพอ 9-11 ชั่วโมง ต่อ วัน
3. ไม่อยู่ใกล้ชิดผู้ที่มีอาหารหวัด
มีไข้ ไอ จาม มีน้ำมูก และถ้ามีอาการ ไอ จาม เป็นหวัด มีไข้ หายใจเหนื่อยหอบ แจ้งผู้ปกครองให้พาไปพบแพทย์ และหยุดเรียนจนกว่าอาหารจะหายขาด
สำหรับการดูสถานศึกษา มีดังนี้
1. กำหนดมาตรการ การป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อในสถานศึกษา
2. เฝ้าระวัง และ สังเกตอาหารป่วย ถ้ามีการป่วยเป็นกลุ่มก้อน (Cluster) ให้ประสาน ปรึกษา และส่งต่อสถานพยาบาล ทันที
3. คัดกรองนักเรียนป่วย หรือ กลุ่มเสี่ยงตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข
4. หากพบนักเรียนมีอาการป่วย หรือ เสี่ยงต่อการเกิดโรค ให้แยกนักเรียนออกจาก นักเรียนคนอื่น และติดต่อผู้ปกครองให้มารับนักเรียนกลับ หรือประสานส่งต่อสถานพยาบาล ทันที
5. จัดให้มีการดูแล ทำความสะอาดห้อง และบริเวณที่มีการใช้พื้นที่ร่วมกัน เช่น ห้องเรียน ห้องส้วม โรงอาหาร ห้องประชุม สนามเด็กเล่น ห้องสมุด สระว่ายน้ำ ลิฟต์ ราวบันได ลูกบิดประตู ของเล่น เป็นต้น
6. ให้ความรู้ คำแนะนำ หรือจัดหาสื่อประชาสัมพันธ์ การป้องกัน และลดความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของโรคติดต่อแก่นักเรียน
สังเกตุและเฝ้าระวังความผิดปกติ ทางด้านร่างกายและจิตใจ
ติดตามข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ จากแหล่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ
เพื่อสุขอนามัยที่ดี และ บรรยากาศที่ดี สถานที่ที่สะอาดในโรงเรียน อย่าลืมทำตามคำแนะนำกันนะคะ ด้วยรักแหละห่วงใย อยากให้คนไทยสุขภาพดี จาก กรมอนามัย
อย่าลืมกดติดตาม Facebook กรมอนามัย เพื่อติดตามซีรีย์สาระสุขภาพจากเรานะคะ
#สาระสุขภาพ #แม่และเด็ก #วัยเรียนวัยรุ่น #วัยทำงาน #อนามัยสิ่งแวดล้อม